โครงงานคอมพิวเตอร์
เรื่อง ต้นดอกสาละ
จัดทำโดย
เด็กหญิง ธนันญา วงค์เจริญทรัพย์
ม.3/3 เลขที่ 15
เสนอ
อ. พร้อมพงษ์ แปงเครือ
โรงเรียนลำปางกัลยาณี
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง “ต้นดอกสาละ”
ประเภทของโครงงาน โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
ผู้จัดทำโครงงาน เด็กหญิง ธนันญา วงค์เจริญทรัพย์
ปีการศึกษา 2556
บทคัดย่อ
การจัดทำโครงงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำต้นดอกสาละให้แก่ผู้สนใจกับประชาชนโดยใช้ www.blogger.comในนำเสนอผลงาน
คณะผู้จัดทำได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่วางไว้และนำเสนอเผยแพร่ผลงานโดยผ่านสื่อเว็บไซต์bloggerผลการจัดทำพบว่าโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง “ต้นดอกสาละ”ได้เผยแพร่ความรู้แก่ผู้สนใจได้รับประโยชน์ไม่มากก็น้อย
กิตติกรรมประกาศ
โครงงานฉบับนี้สำเร็จได้ด้วยความกรุณาของ อาจารย์ พร้อมพงษ์ แปงเครือ อาจารย์สอนหมวดสาระวิชาคอมพิวเตอร์ โรงเรียนลำปางกัลยาณี ซึ่งให้คำปรึกษา ข้อชี้แนะและช่วยเหลือจนกระทั้งโครงงานเสร็จลุล่วงได้ด้วยดี ผู้จัดทำขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณที่นี้ ขอกราบพระคุณอาจารย์ที่ปรึกษา ที่กรุณาในการแก้ไข ข้อบกพร่องต่างๆของโครงงานและความรู้ให้คำแนะนำและกำลังใจ ท้ายสุดนี้ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงงานจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและเป็นที่สนใจสำหรับผู้ที่สนใจต่อไป
ผู้จัดทำ
ด.ญ ธนันญา วงค์เจริญทรัพย์
ม.3/3 เลขที่ 15
บทที่ 1
บทนำ
1.ความเป็นมาและความสำคัญของโครงงาน
สืบเนื่องมาจากต้นสาละเป็นสิ่งที่อยู่คู่วัดและศาสนาของเรามาช้านานโดยในพุทธศาสนากล่าวไว้ว่าต้นสาละเป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าทรงประสูติคณะผู้จัดจึงเกิดความคิดเกี่ยวกับต้นสาละขึ้นมาเพื่อให้ผู้สนใจได้รู้จักความเป็นมาและความสำคัญของต้นดอกสาละ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อนำเสนอความรู้เกี่ยวกับดอกสาละ
2.เพื่อให้นักประชาชนรู้จักต้นดอกสาละที่มีค่าทางพุทธประวัติ
ขอบเขตการศึกษา
โดยสร้างสื่อขึ้นมาใน www.blogger.comเพื่อนำเสนอ “ต้นดอกสาละ”
ผลที่คาดหวังว่าจะได้รับ
1.ผู้สนใจรู้จักต้นดอกสาละมากขึ้น
2.ทำให้มีประชาชนสนใจดอกไม้มากขึ้น
3.มีคนอนุรักษ์ดอกสาละให้อย่คู่กับคนไทย
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ในการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ ‘‘ต้นดอกสาละ”ให้ความรู้เกี่ยวกับ ‘‘ต้นดอกสาละ’’ ผู้จัดทำได้ศึกษาข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
2.1 ประวัติดอกสาละ
ต้นสาละลังกา มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกาใต้ในประเทศเปรู โคลอมเบีย บราซิล และประเทศใกล้เคียงในปีพ.ศ.2424 สวนพฤกษศาสตร์ศรีลังกาได้นำเข้าต้นลูกปืนใหญ่ต่อมาได้ขยายพันธุ์ไปทั่วศรีลังกา แต่ชาวศรีลังกากลับเรียกต้นลูกปืนใหญ่นี้ว่า ซาล (Sal) โดยไม่ปรากฏเหตุผลและไม่ทราบความเป็นมาของต้นลูกปืนใหญ่ ส่วนมากอ้างว่านำมาจากอินเดีย และที่เรียกเพราะซาลเพราะเชื่อว่าก้านชูอับเรณูที่เชื่อมกันเป็นรูปผืนผ้าตัวงอเป็นตัว U นอน ปุ่มตรงกลางเปรียบเสมือนพระแท่นที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน มีเกสรสีเหลืองรายล้อมเปรียบเสมือนพระสงฆ์สาวกห้อมล้อมอยู่ ส่วนด้านบนเป็นที่บังแดดและน้ำค้างประดับด้วยดอกไม้ เนื่องจากมีดอกตลอดปีประกอบกับกลิ่นหอมที่ทนนาน ชาวศรีลังกาจึงนิยมใช้บูชาพระเช่นดอกไม้อื่นๆ
ต้นสาละลังกา หรือตันลูกปืนใหญ่มิใช่พืชพื้นเมืองของศรีลังกาและอินเดีย และต่างจากต้นสาละอย่างสิ้นเชิงทั้งถิ่นกำเนิดและพฤกษศาสตร์ จึงได้มีการจำแนกชื่อที่พ้องกันเพื่อเรียกให้ถูกต้องว่าต้นสาละ (Sal Tree) หรือสาละอินเดีย(Sal of India) และต้นลูกปืนใหญ่ (Cannonball Tree) หรือสาละลังกา (เรียกเฉพาะในไทย) แต่ด้วยความไม่รู้ความเป็นมาและชื่อเดิม ชาวไทยจึงนิยมเรียกสาละอินเดียกับสาละลังกา
อนึ่ง ต้นสาละลังกาหรือต้นลูกปืนใหญ่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติแต่อย่างใด เนื่องจากต้นลูกปืนใหญ่มีดอกและผลตลอดปี ออกเป็นงวงยาวตามลำต้นตั้งแต่โคนขึ้นไป ซึ่งผลของต้นสาละลังกามีเปลือกแข็งขนาดส้มโอย่อมๆซึ่งไม่เหมาะแก่การนั่งพักหรือทำกิจได้ หากตกใส่ก็อาจทำให้บาดเจ็บได้
ความรู้เรื่องต้นสาละ กับพระพุทธองค์
โดยนัยของต้นไม้ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธประวัติที่กล่าวว่า พระพุทธองค์เสด็จดับขันปรินิพพาน ใต้ ต้นซาล หรือสาละ ในเมืองกุสินารา ป่าซาล หรือป่าสาละ (Sal forest) ซึ่งเป็นป่ายางผลัดใบ (Dry dipterocarp forest) คล้ายกับป่าเต็งรัง ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ แต่พบว่ามี ไม้ซาล เป็นไม้เด่นประจำป่า นอกจากนั้นหลายๆ หลายบทความที่อ่านพบ หรือนำเผยแพร่ใน Internet ได้อธิบายลักษณะต่างๆ ของสาละได้ถูกต้องในชนิดของ สาละ (Sal; Shorea robusta) แต่พบว่าการเลือกใช้ภาพประกอบเป็นชนิด ต้นลูกปืนใหญ่ การนำต้นลูกปืนใหญ่เข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ขัดแย้งกับความเป็นจริงทั้งในเรื่องพุทธประวัติ และเขตการกระจายทางพฤกษภูมิศาสตร์ (Plant Geography) ของไม้ลูกปืนใหญ่ ซึ่งมิได้มีถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติในประเทศเนปาล อินเดีย และศรีลังกาแต่ประการใด แต่อยูไกลถึงทวีปอเมริกาใต้
มีหลายท่าน เช่น วัฒน์ (2550) พยายามที่จะสื่อให้ความรู้นี้ ในรูปบทความ และเผยแพร่ในสื่อตาม Website แต่ยังไม่แพร่หลาย จึงขอนำมากล่าวไว้อีก ครั้ง และสามารถ คลิกเข้าไปอ่านหรือชมภาพได้ตาม Website ต่างๆ ที่ได้ Link ไว้ในบทความนี้ ละเอียดของต้นไม้ 2 ชนิด มีดังนี้
เรื่อง ต้นดอกสาละ
จัดทำโดย
เด็กหญิง ธนันญา วงค์เจริญทรัพย์
ม.3/3 เลขที่ 15
เสนอ
อ. พร้อมพงษ์ แปงเครือ
โรงเรียนลำปางกัลยาณี
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง “ต้นดอกสาละ”
ประเภทของโครงงาน โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
ผู้จัดทำโครงงาน เด็กหญิง ธนันญา วงค์เจริญทรัพย์
ปีการศึกษา 2556
บทคัดย่อ
การจัดทำโครงงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำต้นดอกสาละให้แก่ผู้สนใจกับประชาชนโดยใช้ www.blogger.comในนำเสนอผลงาน
คณะผู้จัดทำได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่วางไว้และนำเสนอเผยแพร่ผลงานโดยผ่านสื่อเว็บไซต์bloggerผลการจัดทำพบว่าโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง “ต้นดอกสาละ”ได้เผยแพร่ความรู้แก่ผู้สนใจได้รับประโยชน์ไม่มากก็น้อย
กิตติกรรมประกาศ
โครงงานฉบับนี้สำเร็จได้ด้วยความกรุณาของ อาจารย์ พร้อมพงษ์ แปงเครือ อาจารย์สอนหมวดสาระวิชาคอมพิวเตอร์ โรงเรียนลำปางกัลยาณี ซึ่งให้คำปรึกษา ข้อชี้แนะและช่วยเหลือจนกระทั้งโครงงานเสร็จลุล่วงได้ด้วยดี ผู้จัดทำขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณที่นี้ ขอกราบพระคุณอาจารย์ที่ปรึกษา ที่กรุณาในการแก้ไข ข้อบกพร่องต่างๆของโครงงานและความรู้ให้คำแนะนำและกำลังใจ ท้ายสุดนี้ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงงานจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและเป็นที่สนใจสำหรับผู้ที่สนใจต่อไป
ผู้จัดทำ
ด.ญ ธนันญา วงค์เจริญทรัพย์
ม.3/3 เลขที่ 15
บทที่ 1
บทนำ
1.ความเป็นมาและความสำคัญของโครงงาน
สืบเนื่องมาจากต้นสาละเป็นสิ่งที่อยู่คู่วัดและศาสนาของเรามาช้านานโดยในพุทธศาสนากล่าวไว้ว่าต้นสาละเป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าทรงประสูติคณะผู้จัดจึงเกิดความคิดเกี่ยวกับต้นสาละขึ้นมาเพื่อให้ผู้สนใจได้รู้จักความเป็นมาและความสำคัญของต้นดอกสาละ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อนำเสนอความรู้เกี่ยวกับดอกสาละ
2.เพื่อให้นักประชาชนรู้จักต้นดอกสาละที่มีค่าทางพุทธประวัติ
ขอบเขตการศึกษา
โดยสร้างสื่อขึ้นมาใน www.blogger.comเพื่อนำเสนอ “ต้นดอกสาละ”
ผลที่คาดหวังว่าจะได้รับ
1.ผู้สนใจรู้จักต้นดอกสาละมากขึ้น
2.ทำให้มีประชาชนสนใจดอกไม้มากขึ้น
3.มีคนอนุรักษ์ดอกสาละให้อย่คู่กับคนไทย
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ในการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ ‘‘ต้นดอกสาละ”ให้ความรู้เกี่ยวกับ ‘‘ต้นดอกสาละ’’ ผู้จัดทำได้ศึกษาข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
2.1 ประวัติดอกสาละ
ต้นสาละลังกา มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกาใต้ในประเทศเปรู โคลอมเบีย บราซิล และประเทศใกล้เคียงในปีพ.ศ.2424 สวนพฤกษศาสตร์ศรีลังกาได้นำเข้าต้นลูกปืนใหญ่ต่อมาได้ขยายพันธุ์ไปทั่วศรีลังกา แต่ชาวศรีลังกากลับเรียกต้นลูกปืนใหญ่นี้ว่า ซาล (Sal) โดยไม่ปรากฏเหตุผลและไม่ทราบความเป็นมาของต้นลูกปืนใหญ่ ส่วนมากอ้างว่านำมาจากอินเดีย และที่เรียกเพราะซาลเพราะเชื่อว่าก้านชูอับเรณูที่เชื่อมกันเป็นรูปผืนผ้าตัวงอเป็นตัว U นอน ปุ่มตรงกลางเปรียบเสมือนพระแท่นที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน มีเกสรสีเหลืองรายล้อมเปรียบเสมือนพระสงฆ์สาวกห้อมล้อมอยู่ ส่วนด้านบนเป็นที่บังแดดและน้ำค้างประดับด้วยดอกไม้ เนื่องจากมีดอกตลอดปีประกอบกับกลิ่นหอมที่ทนนาน ชาวศรีลังกาจึงนิยมใช้บูชาพระเช่นดอกไม้อื่นๆ
ต้นสาละลังกา หรือตันลูกปืนใหญ่มิใช่พืชพื้นเมืองของศรีลังกาและอินเดีย และต่างจากต้นสาละอย่างสิ้นเชิงทั้งถิ่นกำเนิดและพฤกษศาสตร์ จึงได้มีการจำแนกชื่อที่พ้องกันเพื่อเรียกให้ถูกต้องว่าต้นสาละ (Sal Tree) หรือสาละอินเดีย(Sal of India) และต้นลูกปืนใหญ่ (Cannonball Tree) หรือสาละลังกา (เรียกเฉพาะในไทย) แต่ด้วยความไม่รู้ความเป็นมาและชื่อเดิม ชาวไทยจึงนิยมเรียกสาละอินเดียกับสาละลังกา
อนึ่ง ต้นสาละลังกาหรือต้นลูกปืนใหญ่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติแต่อย่างใด เนื่องจากต้นลูกปืนใหญ่มีดอกและผลตลอดปี ออกเป็นงวงยาวตามลำต้นตั้งแต่โคนขึ้นไป ซึ่งผลของต้นสาละลังกามีเปลือกแข็งขนาดส้มโอย่อมๆซึ่งไม่เหมาะแก่การนั่งพักหรือทำกิจได้ หากตกใส่ก็อาจทำให้บาดเจ็บได้
ความรู้เรื่องต้นสาละ กับพระพุทธองค์
โดยนัยของต้นไม้ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธประวัติที่กล่าวว่า พระพุทธองค์เสด็จดับขันปรินิพพาน ใต้ ต้นซาล หรือสาละ ในเมืองกุสินารา ป่าซาล หรือป่าสาละ (Sal forest) ซึ่งเป็นป่ายางผลัดใบ (Dry dipterocarp forest) คล้ายกับป่าเต็งรัง ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ แต่พบว่ามี ไม้ซาล เป็นไม้เด่นประจำป่า นอกจากนั้นหลายๆ หลายบทความที่อ่านพบ หรือนำเผยแพร่ใน Internet ได้อธิบายลักษณะต่างๆ ของสาละได้ถูกต้องในชนิดของ สาละ (Sal; Shorea robusta) แต่พบว่าการเลือกใช้ภาพประกอบเป็นชนิด ต้นลูกปืนใหญ่ การนำต้นลูกปืนใหญ่เข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ขัดแย้งกับความเป็นจริงทั้งในเรื่องพุทธประวัติ และเขตการกระจายทางพฤกษภูมิศาสตร์ (Plant Geography) ของไม้ลูกปืนใหญ่ ซึ่งมิได้มีถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติในประเทศเนปาล อินเดีย และศรีลังกาแต่ประการใด แต่อยูไกลถึงทวีปอเมริกาใต้
มีหลายท่าน เช่น วัฒน์ (2550) พยายามที่จะสื่อให้ความรู้นี้ ในรูปบทความ และเผยแพร่ในสื่อตาม Website แต่ยังไม่แพร่หลาย จึงขอนำมากล่าวไว้อีก ครั้ง และสามารถ คลิกเข้าไปอ่านหรือชมภาพได้ตาม Website ต่างๆ ที่ได้ Link ไว้ในบทความนี้ ละเอียดของต้นไม้ 2 ชนิด มีดังนี้
1. ลูกปืนใหญ่ หรือสาละลังกา
ชื่อสามัญเรียก Cannon Ball Tree
ชื่อพฤษศาสตร์ Couroupita guianensis Aubl.
วงศ์ Lecythidaceae
ชื่อสามัญเรียก Cannon Ball Tree
ชื่อพฤษศาสตร์ Couroupita guianensis Aubl.
วงศ์ Lecythidaceae
ลักษณะพืช เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูง 15-25 เมตร เรือนยอดกลมหรือรูปไข่หนาทึบ เปลือกต้นขรุขระตกสะเก็ดเป็นร่อง คล้ายหนามตามลำต้น เปลือกสีน้ำตาล ใบเดี่ยว เรียงเวียนเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ลักษณะใบยาวรูปหอกหรือรูปไข่ ขอบใบจักสั้น ออกดอกเป็นช่อใหญ่ตามลำต้น ช่อดอกยาว ปลายช่อโน้มลงกลีบดอกหนา 4-6 กลีบ กลีบค่อนข้างแข็ง ดอกตูมจะเป็นสีเหลือง เมื่อบานดอกจะมีสีแดง หรือสีชมพูอมเหลือง กลิ่นหอมฉุน ออกดอกเกือบตลอดปี ผลมีขนาดใหญ่ เปลือกแข็ง ลักษณะคล้ายลูกปืนใหญ่สมัยโบราณ มีเมล็ดจำนวนมาก ชอบแดดจัด น้ำปานกลาง ดอกมักดกมากในช่วงหน้าฝน ดอกบานและร่วงในวันเดียว ตอนเย็น
2. ซาล, สาละ
ชื่อพฤษศาสตร์ Shorea robusta C.F. Gaertn.
ชื่อสามัญ Shal, Sakhuwa, Sal Tree, Sal of India
วงศ์ Dipterocarpaceae
ชื่อพฤษศาสตร์ Shorea robusta C.F. Gaertn.
ชื่อสามัญ Shal, Sakhuwa, Sal Tree, Sal of India
วงศ์ Dipterocarpaceae
ถิ่นกำเนิด พบในประเทศเนปาล และพื้นที่ทางเหนือของประเทศอินเดีย มักขึ้นเป็นกลุ่ม ในบริเวณที่ค่อนข้างจะชุ่มชื้น เป็นไม้ที่อยู่ในวงศ์ยาง พบมากในลุ่มน้ำยมุนา แถบแคว้นเบงกอลตะวันตก และแคว้นอัสสัม ลักษณะพืช เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ ลำต้น เปลาตรง เปลือกสีเทาแตกเป็นร่อง เป็นสะเก็ดทั่วไป เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ปลายกิ่งมักจะลู่ลง กิ่งอ่อนเกลี้ยง ใบ เดี่ยว ดกหนาทึบ รูปไข่กว้าง โคนใบเว้าเข้า ปลายใบเป็นติ่งแหลมสั้นๆ ผิวใบเป็นมันขอบใบเป็นคลื่น ดอก ออกเป็นช่อสั้นๆ ตามปลายกิ่งและง่ามใบ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอม ผล เป็นผลชนิดแห้ง แข็ง มีปีก 5 ปีก ปีกยาว 3 ปีก ปีกสั้น 2 ปีก บนแต่ละปีกมีเส้นตามความยาวของปีก 10-15 เส้น
สาละเป็นไม้เนื้อแข็งที่มีประโยชน์มาก ชาวอินเดียนำมาสร้างบ้านเรือน ต่อเรือ ทำเกวียน ทำไม้หมอนรถไฟ ทำสะพาน รวมถึงทำเฟอร์นิเจอร์เครื่องใช้ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น ส่วนเมล็ดนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ และน้ำมันที่ได้จากเมล็ดนำมาทำอาหาร เช่น ทำเนย และใช้เป็นน้ำมันตะเกียง รวมทั้งใช้ทำสบู่ด้วย
สรรพคุณ ด้านสมุนไพรของต้นสาละ พบว่ายาง สามารถใช้เป็นยาสมานแผล ยาห้ามเลือด ใช้แก้โรคผิวหนัง ตุ่มพุพอง โรคซิฟิลิส โกโนเรีย วัณโรค โรคท้องร่วง บิด โรคหูอักเสบ เป็นต้น ผล ใช้แก้โรคท้องเสีย ท้องร่วง เป็นต้น
สาละเป็นไม้เนื้อแข็งที่มีประโยชน์มาก ชาวอินเดียนำมาสร้างบ้านเรือน ต่อเรือ ทำเกวียน ทำไม้หมอนรถไฟ ทำสะพาน รวมถึงทำเฟอร์นิเจอร์เครื่องใช้ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น ส่วนเมล็ดนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ และน้ำมันที่ได้จากเมล็ดนำมาทำอาหาร เช่น ทำเนย และใช้เป็นน้ำมันตะเกียง รวมทั้งใช้ทำสบู่ด้วย
สรรพคุณ ด้านสมุนไพรของต้นสาละ พบว่ายาง สามารถใช้เป็นยาสมานแผล ยาห้ามเลือด ใช้แก้โรคผิวหนัง ตุ่มพุพอง โรคซิฟิลิส โกโนเรีย วัณโรค โรคท้องร่วง บิด โรคหูอักเสบ เป็นต้น ผล ใช้แก้โรคท้องเสีย ท้องร่วง เป็นต้น
ทางออกเบื้องต้นสำหรับการแก้ไขปัญหานี้
สาละ และลูกปืนใหญ่ พันธุ์ไม้ต่างชนิดกัน และมีถิ่นกำเนิดพบกระจายอยู่ห่างไกลต่างทวีปกัน แต่เข้ามาเกี่ยวข้องกันโดยบังเอิญ เนื่องจากความเข้าใจผิดในชื่อเรียกขาน ปัจจุบันความเข้าใจดังกล่าวได้แพร่กระจายออกไปไกล ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้น่าจะช่วยกันเผยแพร่ความรู้นี้ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง และตามวัดต่างๆ ที่ปลูกต้นลูกปืนใหญ่ หรือที่เรียกและรู้จักในชื่อ สาละลังกา เป็นพันธุ์ไม้ที่มิได้เกี่ยวข้องใดใดกับพุทธประวัติ อาจเปลี่ยนป้ายที่บรรยายว่าเป็นพันธุ์ไม้จากทวีปอเมริกาใต้ มีชื่อพ้องกับสาละอินเดีย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่บุคคลทั่วไป หรืออาจเสาะหา สาละ (Shorea robusta C.F. Gaertn.) มาปลูกเปรียบเทียบด้วย เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องแก่สาธารณชนผู้พบเห็น สุดท้ายนี้ ท่านผู้ใดที่มีต้นสาละ (Shorea robusta C.F. Gaertn.) น่าที่จะนำไปถวายวัด เพื่อปลูกเป็นต้นไม้แห่งความรู้ที่เป็นวิทยาทานที่ถูกต้องต่อไป น่าจะเป็นกุศล และเป็นประโยชน์ไม่น้อย
โพธิญาณพฤกษา : ต้นสาละใหญ่ (ต้นมหาสาละ) พันธุ์ไม้ที่พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ประทับตรัสรู้
ต้นสาละใหญ่ (ต้นมหาสาละ)
ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 33 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 25 ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ โกณฑัญญพุทธวงศ์ กล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าองค์ที่ 5 พระนามว่า พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 10 เดือนเต็ม จึงได้ประทับตรัสรู้ ณ ควงไม้สาละใหญ่
ต้นสาละใหญ่ (ต้นสาละอินเดีย) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า "Shorea robusta Roxb." อยู่ในวงศ์Dipterocarpaceae ในภาษาบาลีเรียกว่า "ต้นมหาสาละ" มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอินเดียทางเหนือ ซึ่งปัจจุบันคือประเทศเนปาล มักขึ้นเป็นกลุ่มๆ ตามบริเวณที่ค่อนข้างจะชุ่มชื้น ชาวอินเดียเรียกกันโดยทั่วไปว่า "ซาล" (Sal, Sal of India) เป็นไม้พันธุ์ที่อยู่ในตระกูลยาง มีมากในแถบแคว้นเบงกอล อัสสัม ลุ่มน้ำยมุนา เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงราว 10-25 เมตร และสามารถสูงได้ถึง 35 เมตร ไม่ผลัดใบ
เป็นไม้ที่มีความสง่างาม ด้วยว่ามีลำต้นตรง เปลือกสีน้ำตาลอมดำ แตกเป็นร่องสะเก็ดทั่วไป เรือนยอดเป็นพุ่มหนาทึบ ใบดกหนา รูปไข่ ปลายใบหยักเป็นติ่งแหลมสั้น ผิวใบเป็นมันเกลี้ยง กิ่งอ่อนเกลี้ยง ปลายกิ่งห้อยลู่ลง ดอกจะออกในช่วงต้นฤดูร้อน มีสีเหลืองอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อสั้นตามปลายกิ่งและง่ามใบ กลีบดอกและกลีบรองกลีบดอกมีอย่างละ 5กลีบ ผลแข็ง มีปีก 5 ปีก ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง
สาละใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็งที่มีประโยชน์มาก ชาวอินเดียมักนำมาสร้างบ้านเรือน ต่อเรือ ทำเกวียน ทำไม้หมอนรถไฟ ทำสะพาน รวมถึงทำเฟอร์นิเจอร์เครื่องใช้ต่างๆ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น ส่วนเมล็ดนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ และน้ำมันที่ได้จากเมล็ดนำมาทำอาหาร เช่น ทำเนย และใช้เป็นน้ำมันตะเกียง รวมทั้งใช้ทำสบู่ด้วย
นอกจากนี้ ยังมีสรรพคุณด้านพืชสมุนไพรด้วย คือ ยางใช้เป็นยาสมานแผล ยาห้ามเลือด ใช้แก้โรคผิวหนัง ตุ่มพุพอง โรคซิฟิลิส โกโนเรีย วัณโรค โรคท้องร่วง บิด โรคหูอักเสบ เป็นต้น, ผลใช้แก้โรคท้องเสีย ท้องร่วง เป็นต้น
สมัยก่อนคนไทยเข้าใจกันว่า ต้นสาละใหญ่เป็นต้นเดียวกับ ต้นรัง ที่ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า "Shorea siamensis Miq." และใช้ในความหมายเดียวกันในพุทธประวัติ เนื่องจากมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ส่วนที่แตกต่างกันที่เด่นชัดคือ ต้นสาละใหญ่มีใบแก่ที่ร่วงหล่นเป็นสีเหลือง เกสรเพศผู้จำนวน 15 อัน เส้นแขนงใบย่อยมี 10-12 คู่ ผลมีเส้นปีก 10-12 เส้น มีขนสั้นรูปดาวปกคลุมประปราย ส่วนต้นรังใบแก่มีสีแดง เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เส้นแขนงใบย่อยมี 14-18 คู่ ผลมีเส้นที่ปีก 7-9 เส้น และไม่มีขนปกคลุม
รวมทั้งยังเข้าใจว่า ต้นสาละใหญ่เป็นต้นเดียวกับ ต้นสาละ (ลังกา) หรือต้น ลูกปืนใหญ่ หรือต้นแคนนอนบอล ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า "Couroupita guianensis Aubl." มีดอกขนาดใหญ่สีแดงอมส้ม ซึ่งมีผู้นำมาจากประเทศศรีลังกา และได้รับการบอกเล่ามาว่าเป็นต้นสาละ ดังนั้น ในบางแห่งจึงได้เขียนบอกไว้ว่า ต้นสาละ (ลังกา) เพื่อป้องกันความสับสนนั่นเอง
ในประเทศไทย หลวงบุเรศรบำรุงการ ได้นำเอาต้นสาละใหญ่หรือต้นซาลมาถวายสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) วัดพระศรีมหาธาตุ วรมหาวิหาร เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร โดยปลูกไว้ที่หน้าพระอุโบสถ 2 ต้น กับได้น้อมเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2510 อีก 2 ต้น ในจำนวนนี้ได้ทรงปลูกไว้ในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน 1 ต้น กับทรงมอบให้วิทยาลัยเผยแพร่พระพุทธศาสนา ต.กระทิงลาย อ.บางละมุง จ.ชลบุรี อีก 1 ต้น
อาจารย์เคี้ยน เอียดแก้ว และอาจารย์เฉลิม มหิทธิกุล ก็ได้นำต้นสาละใหญ่มาปลูกไว้ในบริเวณคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร และที่ค่ายพักนิสิตวนศาสตร์ สวนสักแม่หวด อ.งาว จ.ลำปาง
พระพุทธทาสภิกขุ ก็ได้นำมาปลูกไว้ที่สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี และนายสวัสดิ์ นิชรัตน์ ผู้อำนวยการกองบำรุง ก็ได้นำมาปลูกไว้ในสวนพฤกษศาตร์พุแค จ.สระบุรี ซึ่งต่างก็มีความเจริญงอกงามดี และคาดว่าคงจะให้ผลเพื่อขยายพันธุ์ไปตามสถานที่ต่างๆ ได้เพิ่มขึ้นในเวลาอันควร
ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 33 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 25 ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ โกณฑัญญพุทธวงศ์ กล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าองค์ที่ 5 พระนามว่า พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 10 เดือนเต็ม จึงได้ประทับตรัสรู้ ณ ควงไม้สาละใหญ่
ต้นสาละใหญ่ (ต้นสาละอินเดีย) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า "Shorea robusta Roxb." อยู่ในวงศ์Dipterocarpaceae ในภาษาบาลีเรียกว่า "ต้นมหาสาละ" มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอินเดียทางเหนือ ซึ่งปัจจุบันคือประเทศเนปาล มักขึ้นเป็นกลุ่มๆ ตามบริเวณที่ค่อนข้างจะชุ่มชื้น ชาวอินเดียเรียกกันโดยทั่วไปว่า "ซาล" (Sal, Sal of India) เป็นไม้พันธุ์ที่อยู่ในตระกูลยาง มีมากในแถบแคว้นเบงกอล อัสสัม ลุ่มน้ำยมุนา เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงราว 10-25 เมตร และสามารถสูงได้ถึง 35 เมตร ไม่ผลัดใบ
เป็นไม้ที่มีความสง่างาม ด้วยว่ามีลำต้นตรง เปลือกสีน้ำตาลอมดำ แตกเป็นร่องสะเก็ดทั่วไป เรือนยอดเป็นพุ่มหนาทึบ ใบดกหนา รูปไข่ ปลายใบหยักเป็นติ่งแหลมสั้น ผิวใบเป็นมันเกลี้ยง กิ่งอ่อนเกลี้ยง ปลายกิ่งห้อยลู่ลง ดอกจะออกในช่วงต้นฤดูร้อน มีสีเหลืองอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อสั้นตามปลายกิ่งและง่ามใบ กลีบดอกและกลีบรองกลีบดอกมีอย่างละ 5กลีบ ผลแข็ง มีปีก 5 ปีก ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง
สาละใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็งที่มีประโยชน์มาก ชาวอินเดียมักนำมาสร้างบ้านเรือน ต่อเรือ ทำเกวียน ทำไม้หมอนรถไฟ ทำสะพาน รวมถึงทำเฟอร์นิเจอร์เครื่องใช้ต่างๆ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น ส่วนเมล็ดนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ และน้ำมันที่ได้จากเมล็ดนำมาทำอาหาร เช่น ทำเนย และใช้เป็นน้ำมันตะเกียง รวมทั้งใช้ทำสบู่ด้วย
นอกจากนี้ ยังมีสรรพคุณด้านพืชสมุนไพรด้วย คือ ยางใช้เป็นยาสมานแผล ยาห้ามเลือด ใช้แก้โรคผิวหนัง ตุ่มพุพอง โรคซิฟิลิส โกโนเรีย วัณโรค โรคท้องร่วง บิด โรคหูอักเสบ เป็นต้น, ผลใช้แก้โรคท้องเสีย ท้องร่วง เป็นต้น
สมัยก่อนคนไทยเข้าใจกันว่า ต้นสาละใหญ่เป็นต้นเดียวกับ ต้นรัง ที่ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า "Shorea siamensis Miq." และใช้ในความหมายเดียวกันในพุทธประวัติ เนื่องจากมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ส่วนที่แตกต่างกันที่เด่นชัดคือ ต้นสาละใหญ่มีใบแก่ที่ร่วงหล่นเป็นสีเหลือง เกสรเพศผู้จำนวน 15 อัน เส้นแขนงใบย่อยมี 10-12 คู่ ผลมีเส้นปีก 10-12 เส้น มีขนสั้นรูปดาวปกคลุมประปราย ส่วนต้นรังใบแก่มีสีแดง เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เส้นแขนงใบย่อยมี 14-18 คู่ ผลมีเส้นที่ปีก 7-9 เส้น และไม่มีขนปกคลุม
รวมทั้งยังเข้าใจว่า ต้นสาละใหญ่เป็นต้นเดียวกับ ต้นสาละ (ลังกา) หรือต้น ลูกปืนใหญ่ หรือต้นแคนนอนบอล ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า "Couroupita guianensis Aubl." มีดอกขนาดใหญ่สีแดงอมส้ม ซึ่งมีผู้นำมาจากประเทศศรีลังกา และได้รับการบอกเล่ามาว่าเป็นต้นสาละ ดังนั้น ในบางแห่งจึงได้เขียนบอกไว้ว่า ต้นสาละ (ลังกา) เพื่อป้องกันความสับสนนั่นเอง
ในประเทศไทย หลวงบุเรศรบำรุงการ ได้นำเอาต้นสาละใหญ่หรือต้นซาลมาถวายสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) วัดพระศรีมหาธาตุ วรมหาวิหาร เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร โดยปลูกไว้ที่หน้าพระอุโบสถ 2 ต้น กับได้น้อมเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2510 อีก 2 ต้น ในจำนวนนี้ได้ทรงปลูกไว้ในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน 1 ต้น กับทรงมอบให้วิทยาลัยเผยแพร่พระพุทธศาสนา ต.กระทิงลาย อ.บางละมุง จ.ชลบุรี อีก 1 ต้น
อาจารย์เคี้ยน เอียดแก้ว และอาจารย์เฉลิม มหิทธิกุล ก็ได้นำต้นสาละใหญ่มาปลูกไว้ในบริเวณคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร และที่ค่ายพักนิสิตวนศาสตร์ สวนสักแม่หวด อ.งาว จ.ลำปาง
พระพุทธทาสภิกขุ ก็ได้นำมาปลูกไว้ที่สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี และนายสวัสดิ์ นิชรัตน์ ผู้อำนวยการกองบำรุง ก็ได้นำมาปลูกไว้ในสวนพฤกษศาตร์พุแค จ.สระบุรี ซึ่งต่างก็มีความเจริญงอกงามดี และคาดว่าคงจะให้ผลเพื่อขยายพันธุ์ไปตามสถานที่ต่างๆ ได้เพิ่มขึ้นในเวลาอันควร
ต้นสาละอินเดียกับพระพุทธศาสนา
สาละ เป็นคำสันสกฤต อินเดียเรียกต้นสาละใหญ่ว่า "Sal" เป็นไม้ที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าโดยตรง ทั้งตอนประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน มีความสำคัญในพุทธประวัติดังนี้
ตอนพระพุทธเจ้าประสูติ
ก่อนพุทธศักราช 80 ปี พระพุทธมารดาคือพระนางสิริมหามายา ทรงครรภ์ใกล้ครบกำหนดพระสูติการ จึงเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อไปมีพระสูติการ ณ กรุงเทวทหะ อันเป็นเมืองต้นตระกูลของพระนาง ตามธรรมเนียมประเพณีพราหมณ์ (ที่การคลอดบุตร ฝ่ายหญิงจะต้องกลับไปคลอดที่บ้านพ่อ-แม่ของฝ่ายหญิง) เมื่อขบวนเสด็จมาถึงครึ่งทางระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ ณ ที่ตรงนั้นเป็นสวนมีชื่อว่า "สวนลุมพินีวัน" เป็นสวนป่าไม้ "สาละใหญ่"
พระนางได้ทรงหยุดพักอิริยาบท (ปัจจุบันคือตำบล "รุมมินเด" แขวงเปชวาร์ ประเทศเนปาล) พระนางประทับยืนชูพระหัตถ์ขึ้นเหนี่ยวกิ่งสาละใหญ่ และขณะนั้นเองก็รู้สึกประชวรพระครรภ์ และได้ประสูติพระสิทธัตถะกุมาร ซึ่งตรงกับวันศุกร์ วันเพ็ญเดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี คำว่า "สิทธัตถะ" แปลว่า "สมปรารถนา"
สาละ เป็นคำสันสกฤต อินเดียเรียกต้นสาละใหญ่ว่า "Sal" เป็นไม้ที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าโดยตรง ทั้งตอนประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน มีความสำคัญในพุทธประวัติดังนี้
ตอนพระพุทธเจ้าประสูติ
ก่อนพุทธศักราช 80 ปี พระพุทธมารดาคือพระนางสิริมหามายา ทรงครรภ์ใกล้ครบกำหนดพระสูติการ จึงเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อไปมีพระสูติการ ณ กรุงเทวทหะ อันเป็นเมืองต้นตระกูลของพระนาง ตามธรรมเนียมประเพณีพราหมณ์ (ที่การคลอดบุตร ฝ่ายหญิงจะต้องกลับไปคลอดที่บ้านพ่อ-แม่ของฝ่ายหญิง) เมื่อขบวนเสด็จมาถึงครึ่งทางระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ ณ ที่ตรงนั้นเป็นสวนมีชื่อว่า "สวนลุมพินีวัน" เป็นสวนป่าไม้ "สาละใหญ่"
พระนางได้ทรงหยุดพักอิริยาบท (ปัจจุบันคือตำบล "รุมมินเด" แขวงเปชวาร์ ประเทศเนปาล) พระนางประทับยืนชูพระหัตถ์ขึ้นเหนี่ยวกิ่งสาละใหญ่ และขณะนั้นเองก็รู้สึกประชวรพระครรภ์ และได้ประสูติพระสิทธัตถะกุมาร ซึ่งตรงกับวันศุกร์ วันเพ็ญเดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี คำว่า "สิทธัตถะ" แปลว่า "สมปรารถนา"
บทที่ 3
อุปกรณ์และวิธีการดำเนินการ
ในการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์เรื่อง “ต้นดอกสาละ” ผู้จัดทำโครงงานมีวิธีการดำเนินงานและขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1.คิดหัวข้อโครงงานที่จะนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษา
2..ศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับโครงงาน
3.จัดการร่างโครงงานเสนออาจารย์ที่ปรึกษา
4.ศึกษาโปรแกรมต่างๆในการทำโครงงาน
5.ทำโครงงาน รูปแบบ “เว็บบล็อก”
6.สรุปรายงานโครงงานจัดทำรูปเล่ม
3.2 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
1.ศึกษา เรื่อง ต้นดอกสาละ
2.ศึกษา เรื่องการทำงานของตัวโปรแกรม ได้แก่
- โปรแกรม Microsoft Word 2007
3.ศึกษาการเขียนบล็อกใน www.blogger.com
3.3 วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือหรือโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาโครงงาน
1. เครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
2. ซอฟต์แวร์
- โปรแกรม Microsoft Word 2007
อุปกรณ์และวิธีการดำเนินการ
ในการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์เรื่อง “ต้นดอกสาละ” ผู้จัดทำโครงงานมีวิธีการดำเนินงานและขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1.คิดหัวข้อโครงงานที่จะนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษา
2..ศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับโครงงาน
3.จัดการร่างโครงงานเสนออาจารย์ที่ปรึกษา
4.ศึกษาโปรแกรมต่างๆในการทำโครงงาน
5.ทำโครงงาน รูปแบบ “เว็บบล็อก”
6.สรุปรายงานโครงงานจัดทำรูปเล่ม
3.2 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
1.ศึกษา เรื่อง ต้นดอกสาละ
2.ศึกษา เรื่องการทำงานของตัวโปรแกรม ได้แก่
- โปรแกรม Microsoft Word 2007
3.ศึกษาการเขียนบล็อกใน www.blogger.com
3.3 วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือหรือโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาโครงงาน
1. เครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
2. ซอฟต์แวร์
- โปรแกรม Microsoft Word 2007
สรุปผลการดำเนินงาน
การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ ‘‘ต้นดอกสาละ’’สามารถสรุปผลการดำเนินงานโครงงานและข้อเสนอแนะนำดังนี้
การดำเนินงานจัดทำโครงงาน
1.วัตถุประสงค์โครงงาน
1.1 เพื่อให้คนสนใจต้นดอกสาละและอนุรักษ์ต้นดอกสาละสืบต่อไป
2. วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือหรือโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาโครงงาน
2.1 เครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
2.2 ซอฟต์แวร์
2.2.1 โปรแกรม Microsoft word 2007
3.สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน
การดำเนินการบรรลุผลสำเร็จที่ได้กำหนดไว้ คือ ทำให้คนรู้จักดอกสาละมากขึ้นและอนุรักษ์ต้นดอกสาละนี้มากขึ้น และเป็นการนำซอฟแวร์มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และ ประโยชน์
4.ข้อเสนอแนะ
4.1 ควรมีการนำเสนอหลายรูปแบบมากขึ้น
ต้นดอกสาละ
บรรณานุกรม
วัฒน์. 2550. ข้อแตกต่างระหว่างต้นบัวสวรรค์ ต้นสาละลังกา ต้นสาละอินเดีย. Available source: http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=maipradab&topic=4782
http://www.geocities.com/indiatrees/talforest.jpg http://www.thummada.com/cgi-bin/iB315/ikonboard.pl?act=Print;f=9;t=1671 http://www.tradewindsfruit.com/cannonball_tree_pictures.htm
http://www.treknature.com/gallery/Asia/Malaysia/photo9564.htm
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=maipradab&topic=4782
วัฒน์. 2550. ข้อแตกต่างระหว่างต้นบัวสวรรค์ ต้นสาละลังกา ต้นสาละอินเดีย. Available source: http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=maipradab&topic=4782
http://www.geocities.com/indiatrees/talforest.jpg http://www.thummada.com/cgi-bin/iB315/ikonboard.pl?act=Print;f=9;t=1671 http://www.tradewindsfruit.com/cannonball_tree_pictures.htm
http://www.treknature.com/gallery/Asia/Malaysia/photo9564.htm
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=maipradab&topic=4782
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น